รายงานสรุปโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสดและมันเส้น - Open Government Data of Thailand

รายงานสรุปโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสดและมันเส้น

Organizations : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

(ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2559)ตามที่กระทรวงพลังงานได้มีแผนบูรณาการ.พลังงานแห่งชาติ 5 แผนหลักในช่วงปี พ.ศ.2558 –2579 ได้แก่แผนพัฒนากาลังการผลิตไฟฟ้า แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ แผนบริหารจัดการน้ามันเชื้อเพลิง และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative EnergyDevelopment Plan : AEDP2015) ซึ่งแผน AEDP2015จะให้ความสาคัญกับการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากวัตถุดิบพลังงานทดแทนที่มีอยู่ภายในประเทศให้ได้เต็มศักยภาพ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนด้วยเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสม โดยแผน AEDP มีเป้าหมายการใช้เอทานอลในปี พ.ศ.2579 ที่ 11.3 ล้านลิตร/วัน ในปี พ.ศ.2559 ประเทศไทยมีกาลังการผลิตเอทานอล ~4.7 ล้านลิตร/วันและมีการใช้เอทานอลเฉลี่ย 3.7 ล้านลิตรต่อวัน โดยคิดเป็นสัดส่วนเอทานอลที่ผลิตมาจากกากน้าตาลต่อเอทานอลที่ผลิตมาจากมันสำปะหลังในสัดส่วน 67%ต่อ 33% อุปสรรคสาคัญในการเพิ่มกาลังการผลิตเอทานอลให้เป็นไปตามเป้าหมายในแผน AEDP 2015 คือ ปัญหาราคาเอทานอลที่สูงกว่าราคาน้ามันเบนซินซึ่งเป็นปัญหาจากราคาต้นทุนการผลิตเอทานอลโดยเฉพาะการผลิตเอทานอลจากมันสาปะหลัง สาเหตุที่ต้นทุนในการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังแพงกว่าเอทานอลจากกากน้าตาล เนื่องมาจากขั้นตอนการเปลี่ยนแป้งของมันสาปะหลังให้อยู่ในรูปของน้้ำตาล

แนวคิดที่กาลังเป็นที่สนใจต่อภาคอุตสาหกรรมในการเพิ่มผลผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลง คือการเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของสารตั้งต้นโดยเปลี่ยนจากการใช้ความเข้มข้นของมันสำปะหลังประมาณ 20% โดยน้ำหนักหรือที่เรียกว่า Normal gravity fermentation(NG)มาใช้มันสำปะหลังที่ความเข้มข้นประมาณ 30% โดยน้ำหนัก หรือที่เรียกกันว่า High gravity fermentation (HG) ซึ่งในทางทฤษฎีจะสามารถให้ผลผลิตเอทานอลในน้าหมักเพิ่มขึ้นจาก 8 – 12% โดยปริมาตร (v/v)เป็น 13 – 16% โดยปริมาตร (v/v) อย่างไรก็ตามการผลิตเอทานอลภายใต้สภาวะ HG ที่ใช้ความเข้มข้นสารตั้งต้น (มันสาปะหลัง) ความเข้มข้นของเอทานอลในน้ำหมัก และอุณหภูมิการหมักที่สูงกว่าสภาวะ NGจะทำให้เชื้อยีสต์ไม่สามารถเปลี่ยนน้าตาลเป็นเอทานอลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เนื่องจากกระบวนการหมักเป็นปฏิกิริยาคายความร้อนและการผลิตเอทานอลของยีสต์จะถูกยับยั้งโดยตรงจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิการหมักให้อยู่ในช่วง30 – 35 oC ตลอดระยะเวลาของการหมัก ซึ่งค่าใช้จ่ายของการใช้ระบบหล่อเย็น (Cooling) ในระดับอุตสาหกรรมถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สาคัญอย่างหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้ดังนั้นการใช้ยีสต์สายพันธุ์ที่มีความสามารถในการเจริญ และการหมักเอทานอลได้ดีที่อุณหภูมิสูงจึงเป็นทางเลือกที่กาลังได้รับความสนใจซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตลง ยังจะช่วยลดโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นในระหว่างการหมักได้อีกด้วยดังนั้นโครงการนี้จึงทาการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากมันสาปะหลังใน 2 แนวทางด้วยกัน คือ

  1. แนวทางในการพัฒนาด้านเชื้อจุลินทรีย์ (ยีสต์) เพื่อคัดเลือกเชื้อยีสต์ทนร้อนที่มีศักยภาพในการรองรับระบบการผลิตเอทานอลภายใต้สภาวะความเข้มข้นสารตั้งต้นสูง (HG) ซึ่งมีความสามารถในการเจริญเติบโตและผลิตเอทานอลได้ดีเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะที่ใช้ความเข้มข้นน้าตาล ความเข้มข้นเอทานอลและอุณหภูมิการหมักที่สูง
  2. แนวทางในการพัฒนาด้านกระบวนการผลิตการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการหมักเอทานอลภายใต้ความเข้มข้นสารตั้งต้นสูง (HG) จะนาไปสู่การเพิ่มความเข้มข้นของเอทานอลในน้าหมัก เพิ่มอัตราการหมักและลดต้นทุนในการกลั่น ทั้งนี้ความเข้มข้นของเอทานอลในน้าหมักที่เพิ่มขึ้นจาก 8 – 12% (v/v) เป็น 13 –16% (v/v) จะมีความเป็นพิษต่อยีสต์บางสายพันธุ์และส่งผลให้ยีสต์หยุดกิจกรรมการผลิตเอทานอลลง ดังนั้นจึงต้องทาการพัฒนากระบวนการหมักเอทานอลภายใต้ความเข้มข้นสารตั้งต้นสูง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบกู้คืนเอทานอลในระหว่างการหมัก (In SituEthanol Recovery; ISER) โดยดึงเอาเอทานอลที่ผลิตได้ออกจากน้าหมักเป็นบางส่วน ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อลดความเป็นพิษของเอทานอลต่อเชื้อยีสต์ในระหว่างการหมัก

วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. คัดเลือกเชื้อยีสต์ทนร้อนภายในประเทศจานวน 3 สายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการรองรับการผลิตเอทานอลจากมันสาปะหลังภายใต้สภาวะความเข้มข้นสารตั้งต้นสูง 2. ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอทานอลจากมันสาปะหลังเส้นภายใต้สภาวะความเข้มข้นสารตั้งต้นสูง พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลของเชื้อยีสต์ทนร้อนที่คัดเลือกได้กับเชื้อยีสต์ทางการค้า ทั้งในถังหมักระดับห้องปฏิบัติการขนาด 10 ลิตร และถังหมักระดับกึ่งอุตสาหกรรมขนาด 300 ลิตร 3. ออกแบบและผลิตต้นแบบของระบบกู้คืนเอทานอลระหว่างกระบวนการหมักทั้งในระดับห้องปฏิบัติการที่ใช้กับถังหมักขนาด 10 ลิตร และถัง หมักระดับกึ่งอุตสาหกรรมขนาด 300 ลิตร 4. ศึกษาและวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของกระบวนการผลิต

Resource Info : ${cur_meta.name}

Download Go to resource
Resource last updated date ${cur_meta.last_modified}
Resource creation date ${cur_meta.created}
Resource format ${cur_meta.mimetype}
Resource ID ${cur_meta.id}
Description ${cur_meta.ori.description}
Accessible Condition ${cur_meta.ori.resource_accessible_condition}
Data Collect ${cur_meta.ori.resource_data_collect}
${cur_meta.ori.resource_data_collect_other}
Created date ${cur_meta.ori.resource_created_date}
Last updated date ${cur_meta.ori.resource_last_updated_date}
Data source cannot be displayed.
All information ${cur_meta.data.total.toLocaleString()} 0 records
 100 500 1,000 records

Additional Info

Data Key f3b674a7-a5f9-448d-bd9b-ba429af926c9
Groups การเมืองและการปกครอง
Tags
ของเสียจากการผลิตเอทานอล มันสำปะหลัง มันเส้น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
Visibility Public
Dataset publish create date August 16, 2024
Dataset create date September 30, 2022
Maintain date August 21, 2024
Data Type ข้อมูลประเภทอื่นๆ
เอกสารรายงานสรุปโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสดและมันเส้น
Contact Person กองพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ
Contact Email bioethanol@dede.go.th
Objective
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • พันธกิจหน่วยงาน
Update Frequency Unit ตามเวลาจริง
Geo Coverage ไม่มี
Data Source รายงานสรุปโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังสดและมันเส้น (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)
Data Format PDF
Data Category ข้อมูลสาธารณะ
License Creative Commons Non-Commercial (Any)
Accessible Condition ไม่มี
Data Support สถาบันการศึกษา
Data Collect ไม่มี
Data Language
  • ไทย
  • อังกฤษ
Created date 2022-09-30
Last updated date 2022-09-30
Reference Data No
High Value Dataset Show

Showcases

Related

ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์

ข้อมูลสัตว์สะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบก ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา

Last update dataset : April 26, 2025
.. ..
รายชื่อโครงการวิจัยที่ดำเนินการในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช

โครงการวิจัยที่ได้ดำเนินการในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 (ปีก่อตั้งสถานีฯ สะแกราช) ได้มีนักวิจัยทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาใช้พื้นที่สถานีฯ สะแกราช...

Last update dataset : April 26, 2025
.. ..